ทฤษฎีการบริหารองค์กรของแม็กซ์ เวเบอร์
การจัดการตามแบบระบบราชการ (Bureaucratic Management)

แม็กซ์
เวเบอร์ (Max Weber) เป็นชาวเยอรมัน และเป็นนักปราชญ์ที่มี ชื่อเสียงและยิ่งใหญ่
ที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ เช่น วิชากฎหมาย การเมือง การปกครอง ประวัติศาสตร์
และเศรษฐกิจ และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามแบบระบบราชการ
ในการทำความเข้าใจองค์การแบบระบบราชการนั้น มีหลักการที่สำคัญดังนี้คือ
(Hodge Anthony & Gales อ้างในทองใบ
สุดชารี, 2543 หน้า
5)
1.2.1 หลักของการแบ่งงานกันทำ (Division
of Labour) หมายถึง หลักในการสร้างความชัดเจน
และความสมดุลระหว่างอำนาจหน้าที่กับความรับผิดชอบโดยให้ถูกต้องตามกฎ ระเบียบขององค์การ
การแบ่งงานกันทำตามวิธีนี้ถือว่าเป็นความรับผิดชอบที่เป็นทางการ
1.2.2 หลักของการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา
(Hierarchy of Authority) หมายถึง การกำหนดตำแหน่งต่างๆ ที่ให้อำนาจหน้าที่ลดหลั่นลงมาตามสายการบังคับบัญชา
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในสายการบังคับบัญชา
1.2.3 หลักของความสามารถ (Technical
Competency) หมายถึง หลักการสำคัญในการจัดบุคคล
เพื่อบรรลุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามหลักความรู้ความสามารถของบุคคล
โดยการใช้กระบวนการทดสอบ การฝึกอบรม
และการศึกษาของบุคลากร
1.2.4 หลักของกฎ ระเบียบ
ความมีวินัย และการควบคุม
(Rules, Disciplines and Control) หมายถึง การบริหารงานโดยใช้กฎระเบียบเป็นหลัก
และกำหนดรูปแบบไว้ให้ชัดเจนในการบริหาร จะต้องยึดระบบเอกสารเป็นสำคัญ
โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว
1.2.5 หลักของความเป็นกลางทางการบริหาร
(Administrative Officials) หมายถึง
ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นผู้ที่มีเกียรติ
มีอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบในการทำงานตามตำแหน่งนั้น
อุปกรณ์ และเครื่องมือจะอยู่คู่กับตำแหน่งไม่ใช่คู่กับบุคคล
1.2.6
หลักของการเป็นบุคลากรของฝ่ายบริหารและได้รับเงินเดือนประจำ (Career
Official and Fixed Salary) หมายถึง
ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารจะต้องเป็นบุคลากรประจำ มีการจ้างงานตลอดชีพ และจัดให้มีเงินเดือนประจำในอัตราคงที่ในแต่ละปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น