ประวัติและทฤษฎี

การจัดการตามแบบระบบราชการ (Bureaucratic Management)
คาร์ล เอมิล มักซิมิเลียน "แม็กซ์" เวเบอร์ นักปราชญ์ที่มี ชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ ที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ เช่น วิชากฎหมาย การเมือง การปกครอง ประวัติศาสตร์ และเศรษฐกิจได้รับปริญญาเอกในสาขากฎหมายในปี ค.ศ. 1889 ด้วยวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของระบบยุติธรรมชื่อว่า ประวัติศาสตร์องค์กรธุรกิจยุคกลาง และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามแบบระบบราชการ(เกิดในเมืองเออร์เฟิร์ตประเทศเยอรมันKarl Emil Maximilian"Max" Weber) (21 เมษายน ค.ศ. 1864 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1920) Max Weber อยู่ในตระกูลที่ร่ำรวย เป็นลูกชายคนโตในครอบครัวที่มีบุตรเจ็ดคนของ มักซ์ เวเบอร์ ซีเนียร์ นักการเมืองและข้าราชการท้องถิ่นคนสำคัญ และมารดา เฮลีน ฟาเลนสไตน์ น้องชายของเขาอัลเฟรด เวเบอร์ก็เป็นนักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์เช่นเดียวกัน
ซึ่งในช่วงที่เวเบอร์เขียนหนังสือเล่มแรกที่เป็นความเรียง เรื่อง The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism(จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม 



เขามีโอกาสเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เห็นระบบนายทุน ในปี ค.ศ.1904 Weber ได้รับเชิญให้ร่วมประชุมที่ Saint Louis ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมวิทยาของศาสนา (Sociology of religion) และต่อมาได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า Bureaucracy  ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
เป็นที่มาของการจัดการตามแบบระบบราชการในการทำความเข้าใจองค์การแบบระบบราชการนั้น มีหลักการที่สำคัญดังนี้คือ  (Hodge  Anthony  &  Gales  อ้างในทองใบ  สุดชารี,  2543  หน้า  5)
                 1.2.1  หลักของการแบ่งงานกันทำ  (Division  of  Labour)  หมายถึง  หลักในการสร้างความชัดเจน และความสมดุลระหว่างอำนาจหน้าที่กับความรับผิดชอบโดยให้ถูกต้องตามกฎ  ระเบียบขององค์การ การแบ่งงานกันทำตามวิธีนี้ถือว่าเป็นความรับผิดชอบที่เป็นทางการ
                 1.2.2  หลักของการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา  (Hierarchy  of  Authority)  หมายถึง  การกำหนดตำแหน่งต่างๆ ที่ให้อำนาจหน้าที่ลดหลั่นลงมาตามสายการบังคับบัญชา  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในสายการบังคับบัญชา
                 1.2.3  หลักของความสามารถ  (Technical  Competency)  หมายถึง  หลักการสำคัญในการจัดบุคคล เพื่อบรรลุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามหลักความรู้ความสามารถของบุคคล  โดยการใช้กระบวนการทดสอบ  การฝึกอบรม  และการศึกษาของบุคลากร
                 1.2.4  หลักของกฎ  ระเบียบ  ความมีวินัย  และการควบคุม  (Rules,  Disciplines  and Control) หมายถึง การบริหารงานโดยใช้กฎระเบียบเป็นหลัก และกำหนดรูปแบบไว้ให้ชัดเจนในการบริหาร  จะต้องยึดระบบเอกสารเป็นสำคัญ  โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว
                  1.2.5 หลักของความเป็นกลางทางการบริหาร  (Administrative  Officials)  หมายถึง  ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ  เป็นผู้ที่มีเกียรติ  มีอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ  เป็นองค์ประกอบในการทำงานตามตำแหน่งนั้น  อุปกรณ์  และเครื่องมือจะอยู่คู่กับตำแหน่งไม่ใช่คู่กับบุคคล
                1.2.6  หลักของการเป็นบุคลากรของฝ่ายบริหารและได้รับเงินเดือนประจำ (Career  Official  and  Fixed  Salary)  หมายถึง  ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารจะต้องเป็นบุคลากรประจำ  มีการจ้างงานตลอดชีพ  และจัดให้มีเงินเดือนประจำในอัตราคงที่ในแต่ละปี

  :  Gesamtausgabe (ฉบับรวมผลงาน) , ที่พิมพ์โดย มอห์ร ซีเบ็ค (Mohr Siebeck) ในเมืองทูบิงเกน ประเทศเยอรมนี.

 : มรดกจากแม็กซ์ เวเบอร์, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

มีคนไทยนำไปอ้างอิงการทำวิจัยเรื่องภาวะผู้นำและการบริหารของนายกเทศมนตรีในทัศนะของบุคลากรเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม