TQM
http://asq.org/learn-about-quality/total-quality-management/overview/overview.html
http://asq.org/learn-about-quality/total-quality-management/overview/tqm-gets-results.html
What is Total Quality Management?
ความหมายหลักของ
Total Quality Management อธิบายถึงการควบคุมดูแลเพื่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร ผ่านการดูแลความพึงพอใจของลูกค้า ในการใช้งาน
TQM นั้น ทุกคนในองค์กรจมีส่วนร่วมในการพัฒนาขั้นตอนการทำงาน,
สินค้า,
การบริการ และวัฒนธรรมในที่ทำงาน
ระบบ
TQM นั้นจะเป็นระบบที่เหมาะสำหรับองค์กรที่ให้ความสำคัญแก่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลักการในการดำเนินงานขององค์กร ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วน่วมในการพัฒนาองค์กรที่ต่อเนื่อง ระบบจะใช้กลยุทธ์ ข้อมูล และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ประสานเข้าไปในวัฒนธรรมและกิจกรรมภายในองค์กร
Total Quality Management มี
8 หัวใจหลักที่สำคัญ
1. Customer-focused
ลูกค้าจะเป็นปัจจัยเด็ดขาด ที่มีอำนาจในการกำหนดคุณภาพของสินค้า ไม่ว่าองค์กรจะพยายามแค่ไหนในการประคับปประครองคุณภาพ ลูกค้าก็จะเป็นอย่างเดียวที่มีอำนาจในการตัดสินว่าความพยายามในการพัฒนาเหล่านี้จะคุ้มค่าหรือไม่
2. Total employee improvement
พนักงานทุกคนจะทำงานร่วมกันเพื่อที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน การร่วมใจกันของพนักงานจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสถานที่ทำงานนั้นปราศจากความหวาดกลัวและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การทำงานร่วมกัน ระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีมแบบดูแลกันเองก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่เพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน
3. Process-centered
พื้นฐานของ
TQM คือการที่เน้นความสนใจไปที่กระบวนการทางความคิด กระบวนการนี้คือขั้นตอนการนำวัตถุดิบมาเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้า ประสิทธิภาพการทำงานและข้อผิดพลาดจะถูกตรวจตราในทุกขั้นตอนของการทำงาน
4. Integrated system
ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีการวางระบบในแบบแนวตั้ง แต่ระบบแนวนอนต่างหากที่เป็นสิ่งที่ทำให้ระบบต่างๆที่สำคัญของ
TQM นั้นทำงานร่วมกัน
•
เริ่มต้นจากขั้นตอนเล็กๆ รวมกันขึ้นจนเป็นกระบวนการที่ใหญ่ขึ้นมา ขั้นตอนเหล่านี้รวมกันจนกลายเป็นการทำงานในบริษัท จนกลายเป็นแผนการทำงานต่างๆภายในบริษัท ทุกคนภายในบริษัทจะต้องเข้าใจถึงเป้าหมายในการทำงานขขององค์กร รวมไปถึงคุณภาพมาตรฐานขององค์กร ประสิทธิภาพการทำงานจะต้องถูกควบคุมและสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
•
5. Strategic and systematic approach
จุดสำคัญของการควบคุมและจัดการคุณภาพคือ การวางแผนและจัดการระบบเพื่อที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ นี่คือการวางแผนระยะยาวที่ใช้คุณภาพของสินค้าเป็นส่วนประกอบหลัก
6. Continual improvement
จุดเด่นหลักของ
TQM คือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นี่จะทำให้องค์กรมีความสามารถในการวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ สิ่งจะทำให้องค์กรมีความสามารถมากขึ้นในการแข่งกับคู่แข่ง
7. Fact-based decision making
การตรวจสอบและได้รู้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรเป็นที่สิ่งที่จำเป็นมากภายในองค์กร
TQM จะต้องให้องค์กรจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะพัฒนาความแม่นยำในการตัดสินใจสิ่งต่างๆ โดยใช้ข้อมูลในอดีต
8. Communications
ในเวลาของการเปลี่ยนแปลงในองค์กรและการทำงานในทุกๆวัน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมากในการกระตุ้นการทำงานของพนักงานในทุกระดับชั้น
การนำ TQM มาใช้ในการปรับปรุงการบริหารภาครัฐ
จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น ได้นำเสนอแนวความคิดพื้นฐานของ TQM
กระบวนการของ TQM และตัวอย่างของการนำ TQM
ไปปฏิบัติในภาคเอกชนมาแล้ว
ซึ่งจากหลักการพื้นฐานและกรณีตัวอย่างดังกล่าว
กับในอีกหลายกรณีตัวอย่างที่มิได้นำเสนอไว้ในที่นี้
ทำให้ทราบว่าในยุคปัจจุบันย่อมเป็นยุคของคุณภาพโดยแท้ กล่าวคือ การที่องค์การจะอยู่รอดหรือไม่
นั้นอยู่ที่ว่าผลการปฏิบัติงานหรือการให้บริการที่มีคุณภาพ
ในระดับที่สามารถแข่งขันรายอื่นได้หรือไม่นั่นเอง
สำหรับในภาครัฐ
อาจกล่าวได้ว่าภาครัฐมีความสนใจและเห็นความสำคัญของคุณภาพไม่น้อยกว่าในภาคเอกชน
โดยได้มีการนำแนวความคิดเรื่อง”คุณภาพ”มาเป็นส่วนหนึ่งของข้อพิจารณาในการปรับปรุงระบบราชการและระบบข้าราชการตามนโยบายของรัฐบาล
นอกจากนั้นการนำระบบการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพขององค์การหรือ TQM มาใช้เพื่อปรับปรุงการบริการภาครัฐนั้น
นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ระบบราชการควรสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนราชการที่มีภาระหน้าที่ในการให้บริการประชาชน ทั้งนี้
เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างความพึงพอใจ
และความเป็นธรรม ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นสิ่งพึงประสงค์สูงสุดของการบริการภาครัฐ
แนวทางและขั้นตอนในการนำ TQM ไปปฏิบัติในการปรับปรุงการบริการภาครัฐ
1. การสำรวจหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชน
2. การค้นหาจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข
3. การวางแผนการปรับปรุงการปฏิบัติงาน
4. การสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นในวัฒนธรรมองค์การ
5. การนำ TQM ไปปฏิบัติในหน่วยงานบริการภาครัฐ
6. การติดตามและประเมินผล
2. การค้นหาจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข
3. การวางแผนการปรับปรุงการปฏิบัติงาน
4. การสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นในวัฒนธรรมองค์การ
5. การนำ TQM ไปปฏิบัติในหน่วยงานบริการภาครัฐ
6. การติดตามและประเมินผล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น